Emo Comments For Hi5

พยากรณ์สภาพอากาศ

อัตราการแลกเปลี่ยนสกุลเงิน

นับเวลาเคาน์ดาวน์

วันจันทร์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2553

จรรยาบรรณ "แฮกเกอร์"

Author : วิลาศ เตชะไพบูลย์
Quelle : ThaifriendForum
Category : บทความคอมพิวเตอร์
Publisher : bow_der_kleine

ย้อนหลังไปเมื่อกว่าสามปีที่แล้ว กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศหรือที่เรียกกันว่ากระทรวงไอซีที ได้ถูกก่อตั้งขึ้น เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2545 โดยมีเป้าหมายเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนชาวไทย และสร้างความแข็งแกร่งกับภาครัฐและเอกชน

ทันทีที่เว็บไซต์ของกระทรวงเปิดดำเนินการ เว็บไซต์นี้ก็ถูกโจมตีโดยแฮกเกอร์นิรนามที่เจาะระบบเข้าไปเปลี่ยนแปลงเว็บไซต์ของไอซีทีจนกลายเป็นเว็บลามก มิหนำซ้ำยังได้เปลี่ยนแปลงภาพรัฐมนตรีประจำกระทรวงเป็นรูป ควายอีกด้วย และกว่าทีมผู้เชี่ยวชาญของกระทรวงจะสามารถแก้ไขได้ก็กินเวลาถึงหลายอาทิตย์ สร้างความอับอายให้กับทางกระทรวงเป็นอย่างยิ่งจากเหตุการณ์ครั้งนั้น ทางกระทรวงไอซีทีจึงได้เร่งปรับปรุงระบบรักษาความปลอดภัยให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทว่ามาเมื่อเดือนพฤษภาคมศกนี้ เว็บไซต์ของไอซีทีก็ยังไม่วายถูกจู่โจมอีกจนได้

คราวนี้แฮกเกอร์นิรนามเข้าไปแก้ไขข้อมูลเว็บ กระทรวงในลักษณะล้อเลียนเสียดสี อาทิเช่น รมว.ไอซีทีเตรียมจัดตั้งชมรมเว็บโป๊โลก สั่งจองคอมพิวเตอร์ราคาถูกมากๆจัดส่งชาติหน้า ฯลฯ เป็นต้น ไม่เพียงเท่านั้น แฮกเกอร์ยังได้เที่ยวแจกจ่ายรหัสผ่านให้กับผู้คนทั่วไปให้สามารถเข้ามาร่วมวงก่อกวนเว็บไอซีทีได้อีกด้วย ยังผลให้เจ้าหน้าที่กระทรวงจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนโค้ดและรหัสผ่านเว็บใหม่ทั้งหมด

ประวัติแฮกเกอร์

เดิมทีคำว่าแฮกเกอร์มิได้มีความหมายในแง่ลบที่หมายถึงผู้ที่ลักลอบเจาะระบบคอมพิวเตอร์ คำคำนี้ถูกใช้ครั้งแรกเมื่อราว 30 ปีที่แล้วโดยกลุ่มวิศวกรและโปรแกรมเมอร์ที่ร่วมกันค้นคิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ส่วนบุคคลและเครือข่ายอินเตอร์เน็ตขึ้น พวกเขาเรียกตัวเองว่าแฮกเกอร์ ชาวแฮกเกอร์มีหลักการชุดหนึ่งที่ยึดถือร่วมกัน คือ

1.คอมพิวเตอร์เป็นทรัพย์สินสาธารณะที่ทุกคนสามารถาใช้ได้ แก้ไข ปรับปรุงและทดลองได้
2.ข้อมูลความรู้เป็นของสาธารณะไม่ใช่ของส่วนบุคคล ไม่ควรมีราคา
3.ไม่ไว้วางใจผู้มีอำนาจ ส่งเสริมการกระจายอำนาจ
4.แฮกเกอร์ต้องถูกตัดสินจากความสามารถของเขา ไม่ใช่ด้วยวุฒิการศึกษา วัยวุฒิ ตำแหน่งหรือเชื้อชาติ
5.ทุกคนล้วนมีสิทธิในการสร้างสรรค์สิ่งดีงามด้วยคอมพิวเตอร์
6.คอมพิวเตอร์สามารถเปลี่ยนแปลงชีวิตให้ดีขึ้นได้
พวกเขาเรียกหลักการเหล่านี้ว่า จรรยาบรรณของแฮกเกอร์

สรุป
แฮกเกอร์คือผู้ที่พยายามหาวิธีการ หรือหาช่องโหว่ของระบบ เพื่อแอบลักลอบเข้าสู่ระบบ เพื่อล้วงความลับ หรือแอบดูข้อมูลข่าวสาร บางครั้งมีการทำลายข้อมูลข่าวสาร หรือทำความเสียหายให้กับองค์กร



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น